การจัดธาตุให้อยู่ในหมู่ต่าง ๆ ในตารางธาตุจะใช้สมบัติที่คล้ายกันเป็นเกณฑ์ สำหรับตารางธาตุปัจจุบันได้จัดไฮโดรเจนไว้ในคาบที่ 1 ระหว่างหมู่ IA กับหมู่ VIIA เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้
1. มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1 และมีเลขออกซิเดชัน +1 ไฮโดรเจนจึงควรอยู่ในคาบ 1 หมู่ IA
2. มีสมบัติคล้ายธาตุหมู่ VIIA คือ มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า มีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง สถานะเป็นแก๊ส ไม่นำไฟฟ้า เมื่อเกิดสารประกอบต้องการอิเล็กตรอนเพียง 1 อิเล็กตรอนก็จะมีการจัดอิเล็กตรอนเสถียรเหมือนกับฮีเลียม จึงควรอยู่ในคาบ 1 หมู่ VIIA
การที่ไฮโดรเจนมีสมบัติคล้ายทั้งหมู่ IA และหมู่ VIIA รวมทั้งมีเลขอะตอมน้อยที่สุด จึงจัดธาตุไฮโดรเจนไว้ในคาบที่ 1 และระหว่างหมู่ IA กับหมู่ VIIA
ตารางสมบัติบางประการของธาตุไฮโดรเจนกับธาตุหมู่ IA และหมู่ VIIA
สมบัติ | ธาตุหมู่ IA | ธาตุไฮโดรเจน | ธาตุหมู่ VIIA |
1. จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน | 1 | 1 | 7 |
2. เลขออกซิเดชันในสารประกอบ | +1 | +1 และ -1 | +1 +3 +5 +7 -1 |
3. ค่า IE1 (kJ/mol) | 382E26 | 1318 | 1015E687 |
4. ค่า EN (lJ/mol) | 1.0E.7 | 2.1 | 4.0E.2 |
5. สถานะ | ของแข็ง | แก๊ส | แก๊ส ของเหลว ของแข็ง |
6. การนำไฟฟ้า | นำ | ไม่นำ | ไม่นำ |
ไฮโดรเจนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน และมีเลขอะตอมเท่ากับ 1 ดังนั้นถ้าเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็เกณฑ์ในการจัดไฮโดรเจนลงในตารางธาตุ ไฮโดรเจนจะอยู่ในหมู่ IA คาบที่ 1 แต่ไฮโดรเจนก็อาจจะอยู่ในหมู่ VIIA ได้เนื่องจากยังขาดเพียง 1 อิเล็กตรอน ก็มีการจัดอิเล็กตรอนเหมือนฮีเลียม นอกจากนี้ไฮโดรเจนมีเลขออกซิเดชันมากกว่า หนึ่งค่า ไม่นำไฟฟ้า พลังงานไอออไนเซชันลำดับทึ่ 1 สูง และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง เป็นข้อมูลสนับสนุนว่าควรจัดไฮโดรเจนไว้ในหมู่ธาตุหมู่ VIIA แต่เนื่องจากไฮโดรเจนมีสมบัติคล้ายทั้งหมู่ IA และหมู่ VIIA จึงจัดแยกไฮโดรเจนออกจากหมู่ธาตุทั้งสอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น