วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปฏิกิริยานิวเคลียร์

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ คือ  ปฏิกิริยาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงกับนิวเคลียสของอะตอม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม หรือลดโปรตอน หรือนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม 

ปฏิกิริยาฟิชชัน
            จาการทดลองพบว่า เมื่อยิง  23592U    ด้วยนิวตรอน จะได้ไอโซโทป 2 ตัว คือ 
 139 56Ba และ   94 36Kr พร้อมกับนิวตรอนอีก 3 ตัว และพลังงานมหาศาล
                              23592U    +   10n         --------->      139 56Ba   +   94 36Kr    +   3( 10n)
          กระบวนการที่นิวเคลียสแตกออกเป็น 2 ส่วน โดยที่นิวเคลียสหนึ่งจะหนักประมาณ 3/2 เท่า ของอีกนิวเคลียสหนึ่ง พร้อมทั้งปลดปล่อยนิวตรอนและพลังงานออกมาจำนวนมาก เรียกว่า นิวเคลียร์ฟิชชัน  ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันแต่ละครั้ง จะมีการใช้ 1 นิวตรอน แต่ได้ออกมา 2-3 นิวตรอน ซึ่งสามารถทำให้  23592U    ตัวอื่นๆ เกิดปฏิกิริยาฟิชชันได้อีก เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ปฏิกิริยาจึงดำเนินลูกโซ่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ได้พลังงานจำนวนมหาศาลออกมา หลักการของการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้นำมาใช้ทำระเบิดปรมาณู

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิสชันแบบลูกโซ่
ปฏิกิริยาฟิวชัน
            ปฏิกิริยาฟิวชันตรงข้ามกับปฏิกิริยาฟิชชัน ในปฏิกิริยาฟิวชัน เกิดจากไอโซโทป 2 ไอโซโทป ซึ่งปกติเป็นธาตุที่เบาๆรวมตัวกันเป็นธาตุใหม่ ปฏิกิริยาแบบนี้จะมีการคายความร้อนออกมาจำนวนมหาศาลมากกว่าปฏิกิริยาฟิชชันสียอีก ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันดี คือ ปฏิกิริยาการระเบิดไฮโดรเจน
                                       21H   +   31H    -------->              42He   +    10n
เชื่อกันว่า พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ส่วนหนึ่งได้มาจากปฏิกิริยาฟิวชันของไฮโดรเจน
            ปัจจุบันพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาฟิวชันบนโลกยังไม่สามารถควบคุมได้เพราะปฏิกิริยาเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิสูงมากๆ มากว่าล้านองศาเซลเซียส ทั้งนี้ เพื่อเอาชนะแรงผลักระหว่างนิวเคลียสที่จะเข้ารวมกัน ถ้าเราสามารถทำให้พลังงานปล่อยออกมาอย่างช้าๆ ภายใต้ภาวะควบคุมปฏิกิริยาฟิวชันจะเป็นพลังงานของโลก


ปฏิกิริยาฟิวชันมีข้อดีกว่าปฏิกิริยาฟิชชัน
1. พลังงานที่คายออกมาสูงกว่า
2. ผลที่ได้มักจะไม่เป็นสารกัมมันตรังสี จึงไม่มีปัญหาในการกำจัดกาก

ข้อแตกต่างของปฏิกิริยาฟิชชันและฟิวชัน
ข้อแตกต่าง
ฟิชชัน
ฟิวชัน
ปฏิกิริยา
โมเลกุลใหญ่แตกเป็นโมเลกุลเล็ก
โมเลกุลเล็กรวมเป็นโมเลกุลใหญ่
การควบคุม
สามารถควบคุมได้
ไม่สารถควบคุมได้
รังสีตกค้าง
มัรังสีตกค้าง(กากรังสี)
ไม่มีรังสีตกค้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น