วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ธาตุกึ่งโลหะ

          ธาตุกึ่งโลหะ (อ.: metalloids) เป็นธาตุในอนุกรมเคมี ที่มีสมบัติทั้งทางเคมีและฟิสิกส์อยู่กึ่งกลางระหว่างโลหะและอโลหะ  คุณสมบัติสำคัญที่ใช้จำแนกประเภทของธาตุเหล่านี้ คือ คุณสมบัติการนำไฟฟ้า

1.ซิลิกอน (Silicon (Si)) 
          ซิลิคอน (อังกฤษ: Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้ว ซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระแสไหลย้อนกลับ (reverse leakage current)

         เจอร์เมเนียม (อังกฤษ: Germanium) เป็นธาตุที่อยู่ระหว่างซิลิคอน (Si)และดีบุก(Sn)สัญลักษณ์คือ Ge ในกลุ่ม IVA ของตารางธาตุ เป็นพวกเมทัลลอยด์สีเทาเงิน มีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะ และอโลหะ  ธาตุเจอร์เมเนียมยังไม่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจจนกระทั่งหลัง ค.ศ. 1945 เมื่อมีการรับรู้ถึงคุณสมบัติที่เป็นสารกึ่งตัวนำของมัน ซึ่งมีคุณค่าสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันนี้มีการใช้สสารอื่นๆ มากมายเพื่อผลิตสารกึ่งตัวนำ แต่เจอร์เมเนียมก็ยังคงมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในการผลิตทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น  เรกติไฟเออร์ และเซลล์แสงอาทิตย์

3.สารหนู (Arsenic (As))
         สารหนู (อังกฤษ: arsenic) เป็นชื่อธาตุลำดับที่ 33 สัญลักษณ์ As ลักษณะเป็นของแข็ง มีสามอัญรูป คือ สารหนูสีเทา สารหนูสีดำ และสารหนูสีเหลือง เป็นธาตุที่มีพิษอย่างร้ายแรง  สารหนูเป็นธาตุเสรี ในธรรมชาติมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อาจพบได้ในสายแร่เงิน ส่วนใหญ่อยู่ในสารประกอบเป็นแร่หลายชนิดกระจายอยู่ทั่วโลก แร่ที่มีสารหนูเป็นตัวประกอบ เช่นอาร์เซโนไพไรต์ (FeAsS) หรดาลกลีบทองหรือออร์พิเมนต์ (As2S3) หรดาลแดงหรือรีอัลการ์ (As4S4) อาร์เซโนไลต์ (As2O3) เลิลลิงไกต์ (FeAs2) นิกโคโลต์ (NiAs)
นอกจากนี้ สารหนูยังเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการที่ปฏิบัติกับสินแร่เงิน ตะกั่วทองแดง นิกเกิล และโคบอลต์ ประเทศรายใหญ่ผู้ผลิตสารหนู ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวีเดน และเม็กซิโก

4.พลวง (Antimony (Sb))  
          พลวง (อังกฤษ: Antimony) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 51 และสัญลักษณ์คือ Sb (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stibinum) พลวงเป็นธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) มี 4 อัญญรูป ที่มีความเสถียรจะเป็นโลหะสีฟ้า พลวงที่มีสีเหลืองและดำจะเป็นอโลหะที่ไม่เสถียร พลวงใช้ประโยชน์ในการทำ สี เซรามิก สารเคลือบผิว โลหะผสม อิเล็กโทรดและยาง

5.เทลลูเรียม (Tellurium (Te))   
           เทลลูเรียม (อังกฤษ: Tellurium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 52 และสัญลักษณ์คือ Te เทลลูเรียมเป็นธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) มีสีขาวเงินเหมือนดีบุก เทลลูเรียมมีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับซีลีเนียม และกำมะถัน  เทลลูเรียมใช้ประโยชน์ในการทำโลหะผสมและสารกึ่งตัวนำ

6.พอโลเนียม (Polonium (Po))
           พอโลเนียม (อังกฤษ: Polonium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 84 และสัญลักษณ์คือ Poพอโลเนียมเป็นธาตุกึ่งอโลหะเรดิโอแอคตีฟ (radioactive metalloid) มีสมบัติทางเคมีคล้ายเทลลูเรียมและบิสมัท พบว่ามีอยู่ในแร่ยูเรเนียม กำลังศึกษาการใช้งานเกี่ยวกับความร้อนในยานอวกาศค้นพบโดย มารี กูรี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น